วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

แรงเสียดทาน

แรงเสียดทาน (friction) เป็นแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุหนึ่งพยายามเคลื่อนที่ หรือกำลังเคลื่อนที่ไปบนผิวของอีกวัตถุ เนื่องจากมีแรงมากระทำ มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ
2. มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่วัตถุเคลื่อนที่หรือตรงข้ามทิศทางของแรงที่พยายามทำให้วัตถุเคลื่อนที่

กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน


 เซอร์ ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ถือกำเนิดใน ปี ค.ศ.1642 นิวตันสนใจดาราศาสตร์ และประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง (Reflecting
telescope) ขึ้นโดยใช้โลหะเงาเว้าในการรวมแสง แทนการใช้เลนส์ เช่นในกล้องโทรทรรศน์ชนิด
หักเหแสง (Refracting telescope) นิวตันติดใจในปริศนาที่ว่า แรงอะไรทำให้ผลแอปเปิลตกสู่
พื้นดินและตรึงดวงจันทร์ไว้กับโลก และสิ่งนี้เองที่นำเขาไปสู่การค้นพบกฎที่สำคัญ 3 ข้อ อ่านเพิ่มเติม
อัตราเร่ง

      กรณีที่วัตถุเคลื่อนที่อัตราเร็วที่ไม่สม่ำเสมอ หรือความเร็วไม่สม่ำเสมอ วัตถุมีค่าความเร่ง    
ความหมายของอัตราเร่งหรือความเร่ง คือ อัตราเร็วหรือ ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลาที่วัตถุมีการเคลื่อนที่

   การคำนวณหาค่าอัตราเร่ง ทำได้โดยหาอัตราเร็วที่เปลี่ยนไปโดยใช้อัตราเร็วสุดท้ายของการเคลื่อนที่ลบด้วยอัตราเร็วเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ หารด้วยเวลาที่ใช้เปลี่ยนค่าอัตราเร็วนั้น เช่น อ่านเพิ่มเติม
อัตราเร็ว

ในขณะที่วัตถุมีการเคลื่อนที่  ได้ระยะทางและการกระจัดในเวลาเดียวกัน  และต้องใช้เวลาในการ

เคลื่อนที่  จึงทำให้เกิดปริมาณสัมพันธ์ขึ้น  ปริมาณดังกล่าวคือ

1.อัตราเร็ว  คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นเปริมาณสเกลลาร์ หน่วยในระบบ
เอสไอ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที
2.ความเร็ว คือ ขนาดของการกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ 
ใช้หน่วยเดียวกับอัตราเร็ว
สมการแสดงความสัมพันธ์ของอัตราเร็ว ระยะทาง และเวลาเป็นดังนี้ อ่านเพิ่มเติม




การบวกเวกเตอร์ 

การบวกเวกเตอร์ ทำได้ 2 วิธี คือ  
   1.วิธีวาดรูป
   
    2.วิธีคำนวณ
    
       วิธีวาดรูป เป็นวิธีการเขียนรูปเวกเตอร์ตัวตั้งด้วยลูกศรให้มีขนาดและทิศทางตามที่กำหนด  แล้วเขียนลูกศรแทนเวกเตอร์ที่นำมาบวกต่อหัวลูกศรของตัวตั้ง หากมีเวกเตอร์ที่นำมาบวกอีกก็เขียนลูกศรต่อไปอีกจนครบ แล้วจึงลากเส้นจากหางลูกศรที่เป็นตัวตั้งตัวแรกไปยังปลายของลูกศรที่นำมาวาดต่อหลังสุด วัดความยาวของเส้นที่ลากนี้  จะได้ขนาดของเวกเตอร์ที่เป็นผลลัพธ์และทิศทางของเวกเตอร์ลัพธ์มีทิศจากจุดตั้งต้นของเวกเตอร์ตัวตั้งไปยังปลายของเวกเตอร์สุดท้าย หรืออาจกล่าวได้ว่า เวกเตอร์ลัพธ์เป็นด้านสุดท้ายที่มาปิดให้ได้รูปเหลี่ยมครบ
     วิธีคำนวณ แยกเป็นวิธีย่อย ๆ ได้ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม